top of page
3.jpg
BG-BY-Final.png

3 สิ่งที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ RPA


หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ RPA หรือ Robotic Process Automation กันมาบ้างแล้ว แต่รู้ไหมว่าบางอย่างนั้นอาจเป็นสิ่งที่เราเข้าใจผิด ๆ กันมาตลอด วันนี้พวกเรา Backyard ได้รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ RPA มาช่วยไขข้อข้องใจให้เคลียร์ไปเลยว่าอะไรจริง อะไรไม่จริงกันแน่!


1. RPA ไม่ใช่หุ่นยนต์ที่สามารถพูดหรือเดินได้ แต่เป็นหุ่นยนต์เสมือน (Virtual Robot)

แม้ RPA จะขึ้นชื่อว่าเป็นหุ่นยนต์ แต่ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถเดินเหินหรือพูดได้เหมือนมนุษย์แบบที่เราเคยเห็นในข่าวหรอกนะ เพราะจริง ๆ แล้ว RPA เป็นหุ่นยนต์เสมือนในรูปแบบซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์เพื่อทำงานตามขั้นตอน (Workflow) หรือกระบวนการ (Process) ที่เราได้ออกแบบตั้งค่าไว้เท่านั้น


2. RPA ไม่ใช่แค่เครื่องจักรที่ใช้ตรวจสอบเอกสาร แต่เป็นเสมือนผู้ช่วยในการทำงานของพนักงาน

หลาย ๆ คนคิดว่า RPA มีไว้เพื่อตรวจสอบเอกสารอย่างเดียว แต่จริง ๆ แล้ว RPA ยังมีความสามารถอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปิดอีเมลและไฟล์แนบ การเข้าสู่ระบบในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน การย้ายไฟล์และโฟลเดอร์ การกรอกแบบฟอร์ม การจัดเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน การแตกไฟล์ (Extract) หรือบีบอัดไฟล์ (Zip) การคำนวณ การจัดทำสรุปเอกสารรายงาน (Report) การรักษาข้อมูลที่เป็นความลับด้วยการเข้ารหัสลับ (Password Encryption) การเข้ารหัสและถอดรหัสไฟล์ (Encryption and Decryption) การเชื่อมต่อข้อมูลในรูปแบบ API เป็นต้น ด้วยความสามารถเหล่านี้จึงไม่แปลกที่คนมักจะกล่าวว่า RPA เป็นดังผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistant) ของธุรกิจ


3. RPA ไม่ใช่ AI หรือ Machine Learning

เมื่อ RPA ขึ้นชื่อว่าเป็นหุ่นยนต์ หลาย ๆ คนอาจคิดว่ามันต้องอัจฉริยะมากแน่ ๆ แต่จริง ๆ แล้ว RPA นั้นไม่ใช่ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) หรือ Machine Learning ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ แต่มนุษย์อย่างเราต้องเป็นคนตั้งค่าว่า RPA ต้องทำงานอย่างไรต่างหาก RPA จึงสามารถทำได้เพียงงานที่มีรูปแบบซ้ำ ๆ ตามที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้ และไม่สามารถรองรับสถานการณ์ที่ข้อมูลมีลักษณะโครงสร้างไม่ชัดเจน (Unstructured Data) หรือการคิดวิเคราะห์เชิงลึกโดยตีความจากความหมายของภาษามนุษย์ รูปภาพ หรือเสียงได้ เพราะฉะนั้น RPA จึงสามารถตอบข้อความอัตโนมัติในรูปแบบ Chat Bot ได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น และไม่สามารถเปลี่ยนเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความ (Voice Recognition) ได้ อย่างไรก็ตาม เราสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาพัฒนาต่อยอดให้ RPA มีความฉลาดมากขึ้น เพื่อช่วยให้ RPA สามารถทำงานที่มีลักษณะซับซ้อน และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับมนุษย์ เพื่อช่วยการทำงานให้ดีกว่าเดิมได้


เป็นอย่างไรกันบ้าง คงจะเข้าใจเกี่ยวกับ RPA มากขึ้นแล้วใช่ไหม ถ้าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืมแชร์ไปให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันด้วยนะ หรือถ้าใครอยากรู้จัก RPA แบบเจาะลึก สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับ RPA เพิ่มเติมได้ในบทความ "RPA 101 : ทำความรู้จักกับ RPA คืออะไร ใช้กับงานไหน ทำไมต้องมี"


สนใจนำ RPA เข้ามาใช้ในองค์กร?

ที่ Backyard เราพร้อมให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ และเราไม่ได้แค่ออกแบบ RPA ธรรมดา แต่เป็น RPA ที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณโดยเฉพาะ สามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ โทร. 02-853-9131 หรือ info@backyard.in.th หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด และอย่าลืมให้ BYpass เป็น RPA ที่จะเป็น Solution อันชาญฉลาดในการขับเคลื่อนองค์กรของคุณให้เติบโตอย่างยั่งยืน


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Backyard ได้ที่




3.jpg

พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรแล้วหรือยัง?

ติดต่อทีมงาน Backyard

ทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมติดต่อกลับ เพื่อมอบบริการที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด

bottom of page