Key Takeaways
Odoo ERP เป็นระบบ ERP แบบ Open-source ที่เปิดให้นักพัฒนานำ Source Code ไปพัฒนาต่อให้เข้ากับอุตสาหกรรมและความต้องการเฉพาะทางได้ และยังเป็นระบบแบบ Cloud-Based ที่ทำงานได้เลยบนอินเทอร์เน็ต ไม่ต้องลงโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ใหม่
โปรแกรม Odoo ERP เหมาะกับธุรกิจที่กำลังเติบโต ต้องการจัดการข้อมูลให้เป็นระเบียบ เป็นระบบมากยิ่งขึ้น หรือจะเป็นธุรกิจที่ใช้ ERP อยู่แล้ว อยากปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการเฉพาะและงบประมาณที่มีก็ได้เช่นกัน
ระบบ ERP หรือระบบจัดการทรัพยากรทรัพยากร ถือเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ขาดแทบไม่ได้แล้วในการทำธุรกิจยุคใหม่ เพราะนอกจากจะเก็บและจัดการข้อมูลได้อย่างเป็นระเบียบแล้ว ยังเป็นการรวมศูนย์การทำงานไว้ที่เดียวกัน เมื่อต้องการนำข้อมูลมาใช้สำหรับทำรีพอร์ตหรือประชุม ก็ทำได้อย่างสะดวกสบาย รวดเร็วมากขึ้น และยังนำข้อมูลไปวิเคราะห์ ตัดสินใจในการทำธุรกิจต่อได้อีกด้วย
ทุกวันนี้ระบบ ERP ก็มีให้เลือกอยู่หลายแบบ หลายแบรนด์ Odoo ERP เองก็เป็นซอฟต์แวร์อีกประเภทหนึ่งที่ตอบโจทย์การใช้งานในหลายธุรกิจ หลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่เล็กจนถึงใหญ่ และยังปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการเฉพาะแบบได้อีกด้วย วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับโปรแกรม Odoo ERP กันให้มากขึ้นว่ามีจุดเด่นตรงไหน และควรเลือกใช้อย่างไรดี
Odoo ERP คืออะไร?
Odoo ERP คือ ระบบ Enterprise Resource Planning โดยบริษัทซอฟต์แวร์จากประเทศเบลเยียม ก่อตั้งในปี 2003 ให้บริการระบบ ERP แบบ Open-source โดยชื่อ Odoo ย่อมาจาก On-Demand Open Object ถือเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก และมีผู้ใช้งานมากกว่า 12 ล้านคน ใน 120 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย
นอกจากนี้ Odoo ยังเป็นระบบ ERP แบบ Cloud-Based ทำงานบนอินเทอร์เน็ต ช่วยให้ธุรกิจนำไปใช้ได้ โดยไม่ต้องลงทุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน IT เพิ่มเติม อีกทั้งยังมีหน้าตาโปรแกรมที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน เพื่อให้ผู้ใช้งานทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน ทำงานได้สะดวกมากขึ้น
ระบบ ERP แบบ Open-source คืออะไร?
ระบบ ERP แบบ Open-source คือ ระบบ Enterprise Resource Planning ที่เปิด Source Code ให้ผู้พัฒนานำไปใช้งานได้อย่างอิสระ ปรับแต่งให้เหมาะกับธุรกิจต่าง ๆ ได้ พัฒนาให้เข้ากับความต้องการเฉพาะทางได้ โดย Odoo ERP เองก็มี Community ที่เปิดให้นักพัฒนาเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กันได้
โมดูลหลักในระบบ Odoo ERP
ภายในโปรแกรม Odoo มีซอฟต์แวร์ที่ให้เลือกหลายฟังก์ชัน ตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การวางแผนการผลิต การติดตามลูกค้า ไปจนถึงขั้นตอนทางบัญชีการเงิน การจัดสรรดูแลพนักงาน และอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละองค์กรว่าจะเลือกปรับแต่งในรูปแบบใด เพื่อให้ออกแบบระบบได้ตอบโจทย์มากที่สุด
การขาย (Sales) จัดการกระบวนการขาย ตั้งแต่ออกใบเสนอราคา รับข้อมูลการสั่งซื้อ เก็บสินค้า แพ็กสินค้า และจัดส่ง ตามรูปแบบ Oder Fulfillment ซึ่งจะทำงานร่วมกับฝ่ายบัญชีและสินค้าคงคลังได้อย่างราบรื่น
บัญชี (Accounting) ออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) ติดตามรายจ่าย และทำรายงานด้านการเงิน โดยมั่นใจได้ว่าจะอยู่ภายใต้กฎหมายและข้อกำหนดที่จำเป็น
สินค้าคงคลัง (Inventory) ติดตามสินค้าในสต็อกแบบเรียลไทม์ ดูแลจัดการโกดังสินค้า และวิเคราะห์จัดการสินค้าคงคลังให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด
ทรัพยากรบุคคล (Human Resources: HR) จัดระเบียบข้อมูลพนักงาน ทั้งการลงเวลาทำงาน จัดการวันลา บัญชีเงินเดือน (Payroll) การสรรหาบุคคล ไปจนถึงติดตามประสิทธิภาพการทำงาน
การผลิต (Manufacturing) เพิ่มประสิทธิภาพให้กับแผนการผลิต จัดตารางและควบคุมคุณภาพสินค้า รวมไปถึงวิเคราะห์กระบวนการทำงาน เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพพร้อมต้นทุนการผลิตที่ลดลง
จัดซื้อ (Purchase) ปรับปรุงกระบวนการในการจัดหาสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จัดการซัพพลายเออร์ และเปลี่ยนกระบวนการจัดซื้อให้เป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น
จัดการโครงการ (Project Management) ติดตามการทำงานต่าง ๆ ระยะเวลาและกำหนดส่งงาน ช่วยให้ขั้นตอนการทำงานระหว่างทีมมีประสิทธิภาพขึ้น
E-commerce และ POS จัดการร้านค้าออนไลน์และกระบวนการทำงานในร้านค้าปลีก ด้วยข้อมูลสินค้าคงคลังแบบเรียลไทม์ และข้อมูลต่าง ๆ ในธุรกิจ
5 จุดเด่นของระบบ Odoo ERP
ระบบ ERP โดยทั่วไป มักจะมีความเหมือนกันทางด้าน Module ต่างๆที่องค์กรต้องใช้งาน อย่างไรก็ตาม ความครบครัน หรือ ความเหมาะสมในด้านการใช้งานของระบบก็ขึ้นอยู่ความต้องการขององค์กรที่ต้องการนำไปใช้
1. Odoo มีเครื่องมือหลากหลาย ตอบโจทย์การใช้งาน
Odoo ถือเป็นซอฟต์แวร์ที่มีเครื่องมือให้เลือกใช้ในทางธุรกิจได้ครบ ทั้งการขาย บัญชี การเงิน สินค้าคงคลัง การตลาด ไปจนถึงทรัพยากรบุคคล ทุกแผนกได้ใช้เครื่องมือเดียวกัน โดยไม่ต้องแยกกันไปตามแผน ทำงานได้ราบรื่นขึ้น ไม่ซับซ้อน และยังลดปัญหาการทำงานแบบ Silo หรือการทำงานแบบต่างคนต่างทำได้ด้วย
2. ยืดหยุ่น ปรับแต่งให้เข้ากับการทำงานได้
ด้วยการทำงานในรูปแบบ Module ที่แบ่งเป็นเครื่องมือต่าง ๆ Odoo จึงเป็นโปรแกรม ERP ที่ Implement ต่อได้สะดวก เลือกได้เฉพาะส่วนที่ต้องการใช้งาน บวกกับระบบแบบ Open-Source ที่ทำให้ปรับแต่งได้หลากหลายมากขึ้นไปอีก ช่วยให้นักพัฒนาปรับเปลี่ยนฟีเจอร์ ผสมผสาน หรือสร้างรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ ตอบโจทย์การใช้งานเฉพาะทาง หรือธุรกิจที่มีการทำงานซับซ้อน
3. User-Friendly หน้าตาทันสมัย ใช้ง่าย
สำหรับหน้า Interface ของ Odoo ก็จัดว่าเป็นโปรแกรมที่เป็นระเบียบ ใช้งานง่าย ถึงจะเป็นผู้ใช้ใหม่ก็เรียนรู้ได้เร็วขึ้น อีกทั้งส่วนต่าง ๆ ในหน้าแดชบอร์ด ก็ปรับให้เข้ากับรูปแบบการทำงานได้ ใช้งานได้อย่างสะดวก ที่สำคัญ Odoo ยังรองรับการใช้งานทั้งในเดสก์ท็อป แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน เข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกสบายทุกที่ ทุกเวลา
4. เชื่อมต่อข้อมูลได้แบบไร้รอยต่อ ปรับขนาดได้ตามธุรกิจ
Odoo เป็นระบบที่ออกแบบมาให้แต่ละโมดูลทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น และยังเชื่อมต่อกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้ เช่น ช่องทางการชำระเงิน (Payment Gateways) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ส และซอฟแวร์ด้านการตลาด ที่สำคัญยังปรับขนาดให้เติบโตตามธุรกิจได้ ทั้งเพิ่มผู้ใช้งาน ฟีเจอร์ หรือแม้แต่ขยายพื้นที่ใช้งาน โดยไม่ต้องกังวลว่าการทำงานจะสะดุด
5. พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ลดต้นทุนองค์กร
โดยทั่วไปบริษัทที่ใช้ระบบ ERP มักปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงระบบทุก ๆ 5-10 ปี เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในด้านความปลอดภัยและการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งกระบวนการนี้มักมีต้นทุนสูง ทั้งในการติดตั้งระบบใหม่และการฝึกอบรมพนักงาน Odoo เป็นโปรแกรม ERP ที่มีการพัฒนาและอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าระบบยังคงตอบสนองความต้องการและทันสมัยอยู่เสมอ
เลือก Odoo ERP อย่างไรให้เหมาะกับธุรกิจ
สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่
สำหรับธุรกิจที่เริ่มเติบโต กำลังมองระบบ ERP มาใช้งาน จัดการทรัพยากรภายใน จัดระเบียบข้อมูลให้เป็นระบบ ควรเริ่มจากการประเมินความต้องการของแต่ละแผนก โดยเริ่มสำรวจจากคนทำงานจริง ขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ความต้องการเฉพาะทาง และดูว่าใครจะจำเป็นต้องใช้ระบบบ้าง เพื่อให้ออกแบบระบบได้อย่างเหมาะสม ตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด
สำหรับธุรกิจที่ใช้อยู่แล้ว และกำลังมองหา ERP ใหม่
สำหรับองค์กรที่กำลังมองหา ERP ตัวใหม่ มักจะเป็นโจทย์ที่ท้าทาย เนื่องจากมีข้อมูลเดิมในระบบอยู่แล้ว และทางผู้ใช้งานก็มีความคุ้นชินกับระบบเดิม ดังนั้นจึงต้องมีการพูดคุยเรื่องการถ่ายโอนข้อมูลเดิมในระบบ (Migration) ไปในระบบใหม่ และมีการสอนการใช้งาน รวมถึงการ Customize ระบบบางอย่างให้ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด ซึ่งมักจะมีรายละเอียดเชิงลึกในการติดตั้งและพัฒนา มากกว่าการนำ Platform ไปติดตัังในองค์กรใหม่
Implementor ผู้ช่วยสำหรับธุรกิจที่อยากใช้ Odoo ERP
สำหรับการใช้งานระบบ Odoo ERP ในธุรกิจ Implementor หรือผู้พัฒนาระบบ ถือเป็นอีกทางเลือกที่ทำให้ทุกธุรกิจได้ระบบที่ตรงความต้องการมากที่สุด เพราะทีม Implementor จะมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ ติดตั้ง ระบบให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะทางในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงบริการซับพอร์ตหลังการใช้งานด้วย
เนื่องจากระบบ ERP มีความเกี่ยวข้องกับงานหลายส่วน ทำให้ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความเข้าใจทางด้านการจัดการ และมีประสบการณ์ในการติดตั้งระบบ ERP เข้ามาสำรวจความต้องการ เพื่อให้การติดตั้งเป็นไปได้อย่างราบรื่น ครบถ้วนตามความต้องการ ซึ่งมีหลายกรณีที่บางครั้งบริษัทที่ไม่มีประสบการณ์ไม่สามารถส่งมอบงานได้ เนื่องจากออกแบบระบบได้ไม่ตรงจุดเพราะไม่เข้าใจการทำธุรกิจ หรือเกิดปัญหาทางด้านเทคนิคจนทำให้ไม่สามารถส่งงานตามสัญญาได้
Backyard พร้อมให้บริการระบบ Odoo ERP สำหรับ Healthcare และอุตสาหกรรมอื่น ๆ
มี Implementor ที่เข้าใจรูปแบบการทำธุรกิจก็ประหยัดค่าทำระบบได้มากขึ้น ธุรกิจไหนที่สนใจใช้ระบบ ERP หรือต้องการปรับเปลี่ยนระบบที่มีอยู่แล้วให้ใช้งานได้แบบตอบโจทย์มากขึ้น Backyard พร้อมให้บริการแบบครบวงจร เพราะเรามีทีมงานที่มีประสบการณ์ เข้าใจการทำธุรกิจ
โดย Backyard เป็นพาร์ทเนอร์อย่างเป็นทางการกับ Odoo บริษัท ERP ระดับโลก ช่วยให้มั่นใจได้ว่าทุกธุรกิจ จะได้ระบบที่ใช้งานได้อย่างตรงจุด มีประสิทธิภาพ พร้อมรับทุกการเติบโตในอนาคต
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Digital Ecosystem และติดตามข่าวสาร Backyard ได้ที่…
📍โทร. 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10.00-18.00 น. วันจันทร์-วันศุกร์)